หากแปลความความตามตรงของคำว่า Leverage (เลเวอร์เรจ) จะหมายถึง การงัด ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการเทรด แต่ในความหมายของ Forex หมายถึงการใช้สินเชื่อเพื่อเพิ่มความสามารถในการเก็งกำไร ซึ่งเปรียบเสมือนการนำไม้ซีก(เงินลงทุน)ไปงัดไม้ซุง(ขนาดสัญญา) ในบทความนี้เราจะพาไปดูว่า Leverage เลเวอเรจคืออะไร ทำไมถึงต้องมี Leverage?
ทำไมถึงต้องมี Leverage?
ก่อนที่จะมีการใช้ Leverage นั้น หากเราจะซื้อ/ขายอัตราแลกเปลี่ยนได้ 1 สัญญานั้น (1 สัญญา = 1 Lots)
ซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 100,000 USD (ประมาณ 3.38 ล้านบาท) ซึ่งถือว่าเยอะมาก การเทรด Forex จึงมีแต่รายใหญ่ พวกสถาบันการเงิน กองทุน ที่มีเงินทุนสูงเท่านั้น รายย่อยจึงหมดสิทธิ์ซื้อ/ขายไปโดยปริยาย อีกทั้งกำไรต่อการซื้อ/ขายต่อ 1 สัญญา (1 Lots) ก็ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับเงินลงทุน
ยกตัวอย่าง เช่น
ซื้อ EUR/USD ที่ราคา 1.2450 ไปขายที่ราคา 1.2460 จะได้กำไรเท่ากับ
กำไรจากการซื้อ EUR/USD 1 สัญญา = ผลต่างของราคา X มูลค่าสัญญา = (1.2460 - 1.2450)* 100,000 = 0.0010 * 100,000 = 100 USD
เงินลงทุน 100,000 USD ได้กำไร 100 USD คิดเป็นเปอร์เซ็นต์
= (100/100,000) * 100
= 0.1 %
ถ้าหากต้องการจะได้กำไรมากขึ้น จะต้องลงทุนมากขึ้นเพื่อที่จะได้จำนวนหน่วยสัญญาที่มากขึ้น แม้ว่าจะเกิดแนวคิดรวมตัวกันซื้อสัญญา แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเท่าไหร่ เพราะว่ากำไรที่ได้มาจะต้องหารแบ่งตามสัดส่วนอีก กำไรที่ได้น้อยอยู่แล้วพอหารก็จะได้น้อยลงไปอีก
การนำ Leverage มาใช้ จึงเกิดขึ้น
โบรกเกอร์จึงเกิดแนวคิดที่จะทำให้สามารถใช้เงินน้อยลงเพื่อ ซื้อ/ขาย สัญญาได้มากขึ้น เครื่องมือดังกล่าวที่เรียกว่า Leverage จึงเกิดขึ้นมาโดยนักลงทุนจะต้องวางเงินหลักประกันส่วนหนึ่ง ไม่ต้องวางเงินลงทุนทั้งหมด
เช่น โบรกเกอร์ ให้ Leverage 1:100 หมายถึง เงิน 1,000 USD สามารถถือครองสินทรัพย์ได้ 100 เท่าของเงินลงทุน
= 1,000*100
= 100,000 USD
ยกตัวอย่างเดิม จากการซื้อ EUR/USD ที่ราคา 1.2450 ไปขายที่ราคา 1.2460
กำไรจากการซื้อ EUR/USD 1 สัญญา
= ผลต่างของราคา X มูลค่าสัญญา
= (1.2460 - 1.2450)* 100,000
= 0.0010 * 100,000
= 100 USD
เงินลงทุน 1,000 USD ได้กำไร 100 USD คิดเป็นเปอร์เซ็นต์
= (100/1,000) * 100 = 10 %
จะเห็นได้ว่ากำไรจากเดิม 0.1 % ไปเป็น 10% มากกว่าเดิมถึง 100 เท่า
ตัว Leverage จึงสามารถเพิ่มผลตอบแทนได้โดยใช้เงินลงทุนที่น้อยลง ทะลายขีดจำกัดกำแพงด้านเงินทุน จึงทำให้การลงทุนในตลาด Forex เป็นที่นิยมมาก เนื่องจากนักลงทุนมีโอกาสในรับผลตอบแทนสูง
ข้อดี/ข้อเสียของการใช้ Leverage
การใช้ Leverage ถ้าใช้ดีก็เป็นคุณ ใช้ไม่เป็นก็กลายเป็นโทษ เปรียบเสมือนดาบ 2 คม
ข้อดี
- ทะลายขีดจำกัดกำแพงด้านเงินทุน ใช้เงินลงทุนน้อย มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูง
- ซื้อสินทรัพย์ได้ปริมาณที่มากขึ้น
- เกิดการใช้เงินลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสีย
- ทำให้สามารถถือสินทัพย์มูลค่าที่สูงเกินเงินทุน ถ้าหากเกิดผลขาดทุน อาจขาดทุนหนักได้หรือพอร์ตระเบิดได้
- ต้องตรวจสอบเงื่อนไขการใช้ Leverage กับทางโบรกเกอร์ที่เลือกใช้ให้ดีๆ อาจมีเงื่อนไขเพิ่มเติม เช่น ลด Leverage ช่วงข่าว หรือ ลด Leverage เมื่อเงินทุนเพิ่มขึ้นถึงค่า…..นี้
รู้หรือไม่ว่า Leverage ที่โบรกเกอร์ให้มา มีตั้งแต่ 1:10,1:100 ไปจนถึง 1:3,000
ลองดูตรวจสอบสิว่าโบรกเกอร์ไหนให้ Leverage สูงใช้เงินลงทุนน้อย
ยิ่ง Leverage สูง ทำให้เราใช้เงินลงทุนน้อยลงถือครองสินทรัพย์ได้มากขึ้น
เงื่อนไขต่างๆที่มักพบเจอเกี่ยวกับ Leverage
- การลด Leverage ตามขนาดเงินทุน
- เนื่องจากโบรกเกอร์เล็งเห็นว่า เรามีทุนเยอะจึงไม่จำเป็นจะต้องให้ Leverage เท่าเดิม เพื่อที่จะได้ใช้เงินโบรกน้อยลง
- การลด Leverage ในช่วงก่อนประกาศข่าวสำคัญ
- การเปิดออเดอร์ช่วงข่าวเป็นสิ่งที่นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงโดยเฉพาะมือใหม่ เนื่องจากมีความผันผวนสูง โบรกเกอร์เองก็เช่นกันไม่อยากรับความเสี่ยงนี้ บางโบรกจึงมีการรับ Leverage ช่วงข่าว เพื่อออเดอร์ที่ทำการเปิดในช่วงนี้ ตัวเทรดเดอร์จะต้องใช้เงินตัวเองมากขึ้น
- การย้ายหน่วยงานที่ควบคุมดูแลบัญชีเทรดเมื่อมีการขอเพิ่ม leverage
- หน่วยงานที่กำกับดูแลโบรกเกอร์อยู่บางหน่วยงานเข้มงวดไม่อนุญาตให้นักลงทุนใช้ Leverage ที่สูงได้ หากต้องการเพิ่ม Leverage ต้องย้ายบัญชีเทรดไปยังหน่วยงานที่มีความเข้มงวดต่ำกว่า เช่น โบรกเกอร์ในอังกฤษให้ Leverage ได้ไม่เกิน 1:200 หากอยากได้มากกว่านั้นต้องย้ายได้หน่วยงานประเทศ Seychelles หรือ Cyprus แทน
สรุปการใช้ Leverage
จากบทความนี้เราก็พอจะได้ทราบถึงที่มาและความสำคัญของ Leverage แล้ว ซึ่งมีทั้งข้อดีข้อเสีย หากไม่มีตัว Leverage แล้วเราแทบจะไม่มีโอกาสในการลงทุนในตลาด Forex เลย ตัวเทรดเดอร์เองต้องทำความเข้าใจในการเลือกใช้ Leverage ว่าจำเป็นที่จะต้องใช้ Leverage เท่าไหร่ หากไม่เพียงพอควรจะต้องเพิ่มเงินลงทุนหรือตรวจสอบกับโบรกเกอร์ว่าสามารถปรับ/ลด หรือไม่ เพื่อเหมาะสมกับขนาดสัญญาที่ทำการเทรด